หัวข้อวิจัย: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงระบบกับภาวะสุขภาพและความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประชากรช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น: กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย:

  1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงระบบในระดับต่างๆ (ระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน) ที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพและความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร
  2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และอิทธิพลร่วมของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะและความเท่าเทียมในกลุ่มประชากรเป้าหมาย
  3. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาสุขภาวะและลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มวัยแรงงานในเมือง

สมมติฐานการวิจัย: ปัจจัยเชิงระบบในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน ที่ครอบคลุมมิติทางสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพฤติกรรม มีความสัมพันธ์เชิงซ้อนและส่งผลร่วมกันต่อภาวะสุขภาพและความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods) เชิงภาคตัดขวาง (cross-sectional study)

ประชากร: ประชากรไทยอายุ 25-35 ปี ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่าง: สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) โดยกำหนดขนาดตัวอย่างให้เพียงพอต่อการวิเคราะห์เชิงสถิติและครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความหลากหลายของปัจจัยเชิงระบบ

เครื่องมือวิจัย:

การรวบรวมข้อมูล: เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้เครื่องมือวิจัยที่หลากหลายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตามขอบเขตของปัจจัยที่ต้องการศึกษา โดยอาจแบ่งเป็นการเก็บข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนด้วยแบบสอบถาม ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ตลอดจนการสำรวจข้อมูลระดับชุมชน และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นองค์รวมและมีความลุ่มลึก

Draft outline

ช่วยแนะนำการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาที่ดีสำหรับ Protocol Submission Form